หลักในการจัดตกแต่งอาหาร

  สถานที่ให้บริการจัดเลี้ยงไม่ว่าจะเป็นโรงแรม รีสอทส์ ร้านอาหาร ที่มีการให้บริการเกี่ยวกับอาหารการกิน หรือที่พักส่วนใหญ่ก็จะมีการจัดตกแต่งสถานที่ ประดับประดาให้สวยงาม ไม้เว้นแม้แต่อาหารสำหรับงานเลี้ยงก็จะต้องมีหน้าตาที่สวยงาม สร้างความน่าประทับใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ

หลักในการจัดตกแต่งอาหาร

หลักในการจัดตกแต่งอาหารก็จะมีอยู่ด้วยกัน 5 ข้อ

  1. ควรมีโครงร่าง ของการจัด เราอาจจะมีการวาดภาพหรือคิดก่อนว่าเราจะต้องการจัดอาหารแบบไหน แล้วเราจะจัดออกมายังไง เพื่อให้ง่ายต่อการจัดวาง และไม่สร้างความสับสนให้กับคนรับประทานด้วย
  2. สร้างความสมดุลบนจานอาหาร โดยใช้สีและรูปทรง แต่ไม่ควรจัดตกแต่งจานอาหารเยอะจนไปบดบังรสชาติหรือประโยชน์ของอาหาร
  3. เน้นส่วนผสมหลักให้โดดเด่น แต่ยังคงให้ความสำคัญกับตัวสนับสนุน ซึ่งตัวสนับสนุนก็คือพวกของตกแต่งบนโต๊ะอาหาร เช่นซอส แจกัน หรือว่าของตกแต่งจาน 
  4. ใช้ขนาดและสัดส่วนที่ถูกต้อง ไม่เยอะไปหรือน้อยไป เพื่อความสมดุลในจานอาหาร
  5. การจัดวางแบบคลาสสิก โดยใช้หล้กการง่าย ๆ ในการจัดวางอาหารแบบคลาสสิกคือการจัดวางอาหารแบบหน้าปัดนาฬิการ คือ อาหารหลักคือ จัดวางระหว่าง 3 ถึง 9 นาฬิกา, แป้ง จัดวางระหว่าง 9 ถึง 11 นาฬิกา, ผัก จัดวางระหว่าง 11 ถึง 3 นาฬิกา



ต้องบอกไว้ก่อนค่ะว่าการจัดจานอาหารไม่ได้มีหลักการตายตัว แต่เราจะเน้นในเรื่องของความสวยงาม เพื่อความน่ารับประทานและเพิ่มมูลค่าของอาหาร หลักการที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นหลักการที่จะช่วยให้ การจัดจานง่ายขึ้นค่ะ แหมวันนี้ตามาแบบจัดเต็มเลยนะ 555 ก็นิสสนึง คือว่าอยากให้เราทุกคนมีอาหารตาไปพร้อมกับรสชาติของอาหารยังไงล่ะแหม


งานฝีมือ แกะสลักผักผลไม้ มีการลวดลายที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่แนวคิด และความคิดริเริ่มสร้างสร้างของผู้สร้างผลงาน งานแกะสลักผักผลไม้ของคนไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นชาติที่แกะสลักออกมาได้ความละเอียด อ่อนช้อย วิจิตรงดงามยิ่งนัก ซึ่งต่างจากชาติอื่น อาจจะเป็นเพราะว่าเรามีลายไทยที่มีความอ่อนช้อย ดูพริ้วไหว ซึ่งการแกะสลักเป็นงานที่ต้องอาศัยความอดทน การฝึกฝนจนชำนาญ จึงจะทำให้งานแกะสลักออกมาได้งดงามสวยสะดุดตา

หลักในการจัดตกแต่งอาหาร

สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มหัดแกะสลัก ประเภทมือใหม่หัดขับ ไม่ต้องกังวลค่ะ ไม่มีอะไรยากเกินไปกว่าความพยายาม สิ่งที่ผู้ฝึกใหม่ควรมีคือมีดแกะสลัก 1 เล่ม ลองฝึกแกะสลักกับแตงกวาก่อนเพราะเป็นผักที่เนื้ออ่อนแกะง่าย ถ้าไปแกะสลักผักเช่นฟักทอง หรือผักที่มีเปลือกแข็งก็อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่า เพราะว่าเรายังไม่รู้จักเนื้อของชิ้นงานดี ดังนั้นทำตามนี้ก่อน และควรเริ่มแบบง่าย ๆ จะทำให้มีกำลังใจที่จะสร้างสรรงานต่อไป ถ้าไปแกะลายยาก ๆ อาจจะทำให้ต้อแต้ได้ เข้าใจเน้อะตัวเธอ 

ตาทำคลิปวีดีโอสอนการจับมีดและสลักผักผลไม้ยังไงไม่ให้บาดมือ สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นแกะสลัก แต่ต้องบอกก่อนนะว่าไม่ใช่ดูคลิปนี้แล้วมีดจะไม่บาดมือ 555 ตามาแนะนำวิธีการช่วยให้คุณจับมีดแกะสลักได้ง่ายขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้ฝึกด้วยว่าต้องเพิ่มความระมัดระวัง เพราะอย่างที่รู้กันว่ามีดคือของมีคม ดังนั้นก็แค่มีสมาธิ เพิ่มความระมัดระวังเท่านั้น
 
Free Course แกะสลักเบื้องต้น

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ที่มีใจรักงานฝีมือแกะสลักผักผลไม้กันนะคะ แล้วมาเจอกันใหม่กับบทความหน้า วันนี้ขอตัวลาไปฝึกฝนงานแกะสลักอีกหน่อย เดี๋ยวตามเพื่อน ๆ ไม่ทัน แล้วเจอกันค่ะ

ติดตามผลงานได้ที่ 







                 



อดีตเชฟอาหารอิตาเลียน

ผันตัวมาเป็นแม่บ้าน Full-Time

ที่ชอบทำอาหารและงานศิลปะ

มุ่งมั่นกับการพัฒนาตัวเอง

ปัจจุบันเป็นนักเขียนอิสระ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

2 วิธีการจับมีดแกะสลักผักผลไม้

วิธีทำ ครูตองซ์ ง่าย ๆ กินเองที่บ้าน