2 วิธีการจับมีดแกะสลักผักผลไม้


    งานแกะสลักผักผลไม้ หรือวัสดุเนื้ออ่อน เป็นงานศิลปะที่สืบต่อกันมาช้านาน ตั้งแต่สมัยโบร่ำโบราณ และรับช่วงสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ แรกเริ่มเดิมทีงานศิลปะแขนงนี้มีมาตั้งแต่สมัยแผ่นดินกรุงสุโขทัย โดยผู้ที่ได้คิดริเริ่มก็คือ นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ท่านได้นำผลงานแกะสลักมาตกแต่งพร้อมดอกไม้สีสันสวยงาม นำมาประดับตกแต่งโคมลอยให้งดงามและวิจิตรบรรจง ทำให้เป็นที่กล่าวขาน

แกะสลัก ผักผลไม้

    งานแกะสลักของคนไทยได้เป็นที่เลื่องชื่อลือชาในเรื่องของความละเอียด อ่อนช้อยและงดงาม หาชาติใดเทียมเท่าได้ยากยิ่ง อาจจะเป็นเพราะว่าคนไทยเรามีศิลปะวัฒนธรรมที่อ่อนช้อย อย่างเช่น ลายไทย แบบต่าง ๆ ที่สามารถนำมาแกะสลักลงบนผักผลไม้ เพิ่มความสวยงามในแบบฉบับของคนไทย ส่วนงานศิลปะของต่างชาติก็จะมีความสวยงามที่แตกต่างออกไปในแบบของเค้า 

    แน่นอนว่างานศิลปะก็จะมีหลากหลายแนว ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ ลวดลาย รูปทรง หรือลักษณะเฉพาะของตัวชิ้นงาน ส่วนใหญ่แล้วตา (ผู้เขียน) จะสอนคนที่เพิ่งเริ่มต้นหัดทำ หรือว่าเพิ่งหันมาเรียนรู้งานแกะสลักเพื่อนำไปใช้ในอาชีพหรือบางคนต้องการฝึกสมาธิจากงานแกะสลัก ใช่ค่ะหลายคนคิดว่างานแกะสลักเป็นงานที่ต้องมีพรสวรรค์เท่านั้นถึงจะทำได้ แต่ความจริงแล้วถ้าคุณมีแค่พรแสวง คุณก็สามารถสร้างงานแกะสลักออกมาได้เช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นอยู่ที่การเรียนรู้ ปรับปรุงและนำมาพัฒนา จนเกิดเป็นความชำนาญ 

แกะสลัก ผักผลไม้


    และสิ่งที่คุณจะได้มาพร้อมกันกับผลงานก็คือการที่คุณจะมีจุดมุ่งหมาย มีสมาธิเพิ่มขึ้น เพราะคุณก็รู้อยู่แล้วว่างานแกะสลักจะต้องใช้มีดซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีความแหลมคมมาก ดังนั้นคุณจะเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น ตา (ผู้เขียน) ได้นำเทคนิคการจับมีดแกะสลักยังไงไม่ให้บาดมือมาสอนด้วย ดังนั้นถ้าคุณทำตามคำแนะนำไปพร้อมกับการเพิ่มความระมัดระวัง คุณก็จะลดอุบัติเหตุจากมีดได้เยอะเลยค่ะ

   ต้องบอกก่อนนะคะว่าการจับมีดแกะสลักไม่มีอะไรตายตัว แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน บางคนถนัดมือซ้ายบางคนถนัดมือขวาอาจจะมีวิธีการจับที่ต่างกันออกไป สิ่งสำคัญที่สุดก็คือความปลอดภัย จับยังไงก็ได้ที่ไม่ให้มีดบาดมือ


แกะสลัก ผักผลไม้

 
การจับมีดแกะสลักผักผลไม้มีด้วยกัน 2 วิธี

  1. จับมีดแบบการหั่นผัก คือการจับมีดด้วยมือที่เราถนัดนิ้วหัวแม่มืออยู่บนสันมีดในลักษณะสบาย ๆ ไม่ต้องเกร็งมือ นิ้วชี้วางไปที่ชิ้นงานแกะสลักเพื่อช่วยในการควบคุมมีด ส่วนอีกมือก็จับชิ้นงานตามลักษณะของงาน
  2. จับมีดแบบจับดินสอเขียนหนังสือ ใช้มือที่เราถนัดจับมีด ใช้สามนิ้วที่เหลือแตะไปที่ชิ้นงานเพื่อเป็นการควบคุมมีดไม่ให้บาดมือ ส่วนอีกมือก็จับชิ้นงานตามลักษณะของงาน

แกะสลัก ผักผลไม้

    
ฟังดู ก็แหม !!!! พี่ทำมาเยอะแล้วนี่นา พี่ก็พูดได้ซิ ใช่ค่ะเพราะว่าทำงานมาเยอะแล้วจึงอยากนำเทคนิคและวิธีการที่ง่าย ๆ สำหรับคนที่เพิ่งหัดเรียนรู้งานแกะสลักใหม่ได้เข้าใจ เรียนรู้ง่ายและประหยัดเวลามากขึ้นเพราะสำหรับคนที่เพิ่งหัดทำ ก็ควรรู้หลักการและวิธีการที่สามารถนำมาใช้งานได้จริงกับการทำงานเพื่อให้ง่ายและไม่รู้สึกท้อแท้ไปเสียก่อน 

    เพราะว่ามีหลายคนที่เพิ่งได้เริ่มลองเรียนรู้ แต่พอทำไม่ได้ก็รู้สึกว่างานแกะสลักผักผลไม้เป็นงานที่ยากซะเหลือเกิน แต่ตา (ผู้เขียน) ขอย้ำเลยค่ะว่างานทุกงานยากเหมือนกันหมด สำหรับการเริ่มต้นใหม่กับการเรียนรู้ที่ไม่มีประสบการณ์งานด้านนั้น เพราะว่าเราไม่เคยทำมันมาก่อน หรือแม้แต่คนที่ทำเป็นแล้วและไม่ได้จับงานมานาน บางทีก็หลงลืม และก็ต้องมาเริ่มฝีกกันอีกครั้ง


แกะสลัก ผักผลไม้

    
ดังนั้นสิ่งที่เราต้องเข้าใจก่อนเลยคือว่า งานแต่ละงานถ้าจะทำให้ประสบความสำเร็จ เราต้องตั้งใจ มุ่งมั้น มีเป้าหมายที่ชัดเจนมีวินัยในการฝึกฝนทำอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นความชำนาญ แน่นอนว่าความสำเร็จไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน ตา (ผู้เขียน) ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนที่ชอบและรักงานศิลปะแกะสลักผักผลไม้ทุกคนนะคะ คนอื่นทำได้ เราก็ทำได้เช่นกัน 

แกะสลัก ผักผลไม้

  
 และเจอกันในบทความ หรือไม่ก็วีดีโอคะ เราจะมาช่วยกันสืบสานงานศิลปะของไทยให้คงอยู่จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน พวกเค้าจะได้ภาคภูมิใจว่าบรรพบุรุษได้ส่งต่อศิลปะที่สวยงามและงดงามเอาไว้ให้พวกเค้า..



ติดตามผลงานได้ที่ 



ติดต่อพูดคุยได้ที่


Line: Tukta1240









ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีสมัครวีซ่าท่องเที่ยวออสเตรเลีย ง่าย ๆ ไม่ต้องจ้างใครทำ

หลักในการจัดตกแต่งอาหาร

วิธีทำ ครูตองซ์ ง่าย ๆ กินเองที่บ้าน